หนึ่งเดียวในไทย! ไปรษณีย์ไทยคว้า Bronze Award การดีไซน์ปฏิทินไปรษณีย์ไทย 2567 จากเวทีระดับโลก International ASTRID Awards

Last updated: 20 มิ.ย. 2567  |  70 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หนึ่งเดียวในไทย! ไปรษณีย์ไทยคว้า Bronze Award การดีไซน์ปฏิทินไปรษณีย์ไทย 2567 จากเวทีระดับโลก International ASTRID Awards

     บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดส่ง “ปฏิทิน ปณท 2567” คว้ารางวัลด้านการออกแบบ "Bronze Award" ประเภท "Corporate – With illustrations" จากงาน International ASTRID Awards 2567 เวทีการออกแบบสร้างสรรค์ระดับโลก และเป็นองค์กรเดียวในไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยออกแบบภายใต้แนวคิด “สายมูทั่วไทย ที่ไหน ปัง พี่ไปรฯ รู้ดี” แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสายมูเตลูใน 12 เดือน และสอดแทรกดวงแต่ละเดือนหรือเนื้อหาที่สายมูชื่นชอบ รางวัลดังกล่าวยังสะท้อนถึงความเชี่ยวชาญในทุกพื้นที่ การเข้าถึงในทุกไลฟ์สไตล์ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ซอฟต์พาวเวอร์ประจำชาติ



     ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับรางวัล "Bronze Award" ประเภท "Corporate – With illustrations" จากผลงานปฏิทินไปรษณีย์ไทย ประจำปี 2567 ในงาน “International ASTRID Awards 2567” ซึ่งเป็นรางวัลที่มีความโดดเด่นในด้านการออกแบบ เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และทรงคุณค่า โดยไปรษณีย์ไทยยังเป็นองค์กรไทยเพียงองค์กรเดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ซึ่งผลงานปฏิทินได้ถูกออกแบบภายใต้คอนเซปต์ “สายมูทั่วไทย ที่ไหนปัง พี่ไปรฯ รู้ดี” แนะนำสถานที่/ จังหวัดใน 12 เดือน ที่สายมูห้ามพลาด และควรไปมูเสริมการงาน/ ค้าขายให้ประสบความสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านพื้นที่ รู้ลึก รู้จริง เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวด้านความศรัทธาในแต่ละพื้นที่ พร้อมสอดแทรกเคล็ดลับเสริมดวงแต่ละเดือน หรือเนื้อหาที่สายมูชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น เลขเด็ดประจำเดือน วันฤกษ์ดี เสื้อสีมงคล เครื่องรางนำโชคแต่ละราศี ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและโชคดีตลอดทั้งปี

      

     ดร.ดนันท์ กล่าวเสริมว่า การออกแบบปฏิทินชุด “สายมูทั่วไทย ที่ไหน ปัง พี่ไปรฯ รู้ดี” ยังเป็นช่องทางที่ช่วยสะท้อนและสื่อสารซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในด้าน “ความเชื่อ” ซึ่งอยู่คู่กับชีวิตและคนไทยมาอย่างยาวนานและทำให้ต่างชาติได้รู้จักกับความเป็นไทยในมุมความสร้างสรรค์ และรากฐานความเป็นไทยที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติที่มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศร่วมภูมิภาคที่หันมาใช้กลยุทธ์ “ความเชื่อ” ประชาสัมพันธ์ประเทศให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย

      

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้