Last updated: 18 ต.ค. 2566 | 125 จำนวนผู้เข้าชม |
กลุ่มมิตรผล ผู้นำด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารอันดับ 2 ของโลก ประกาศความสำเร็จก้าวแรกบนเส้นทางสู่การเป็นองค์กร Net Zero ผลักดันอุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี สู่คอมเพล็กซ์แห่งแรกของประเทศไทยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Complex) ได้ตามเป้าหมาย ผ่านการรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) พร้อมเดินหน้าพัฒนาสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ทั้งองค์กร ภายในปี ค.ศ. 2030 และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050
คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัทและประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า “กลุ่มมิตรผล เรายึดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและลงมือทำจริงมาเป็นเวลานาน เพราะเราอยู่ในภาคเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก ทุกการดำเนินงานของเราจึงต้องมีคำว่า ‘ความยั่งยืน’ อยู่ควบคู่กันเสมอ โดยเรามีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนภาคเกษตรให้มีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งภาคเกษตรสามารถต่อยอดสู่การผลิตพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ที่นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติ เพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้ กลุ่มมิตรผลมีการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด ‘เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไร้ค่าให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือ From Waste to Value Creation’ ที่ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามายกระดับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพื่อต่อยอดธุรกิจน้ำตาลสู่การผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวลที่ได้ดำเนินงานมากว่า 30 ปี และปัจจุบันได้ขยายสู่การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ความสำเร็จของการผลักดันอุทยานมิตรผล ด่านช้างฯ จึงเป็นเสมือนเครื่องยืนยันความตั้งใจและการลงมือทำจริงของเรา เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กร Net Zero ในอนาคตและร่วมสร้างสมดุลที่ดีให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน”
อุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นคอมเพล็กซ์ที่ประกอบไปด้วย 7 โรงงานต่อเนื่อง ที่เริ่มจากโรงงานน้ำตาล และหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาล ต่อยอดสู่โรงไฟฟ้าชีวมวล และอุตสาหกรรมไบโอเบส อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นจำนวนกว่า 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 300,000 ไร่ ผ่านแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ได้แก่