Last updated: 16 ก.ค. 2566 | 170 จำนวนผู้เข้าชม |
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) จับมือ HUAWEI Thailand จัดอบรมผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ภายใต้โครงการศึกษาดูงานและการประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที (ARI TECH CAPABILITY 2023) สานต่อโครงการเป็นปีที่ 5 มุ่งพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และยกระดับให้ประเทศไทยขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลในอาเซียนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) จับมือ HUAWEI Thailand จัดอบรมผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ภายใต้โครงการศึกษาดูงานและการประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที (ARI TECH CAPABILITY 2023) สานต่อโครงการเป็นปีที่ 5 มุ่งพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และยกระดับให้ประเทศไทยขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลในอาเซียน
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงกรอบความร่วมมือว่า “สืบเนื่องจาก NIA และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของกำลังคน เพื่อสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืน ณ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562 เพื่อร่วมมือพัฒนาระบบนิเวศทางด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาบุคลากร ยกระดับขีดความสามารถ ทักษะดิจิทัล และนวัตกรรม
การจับมือระหว่าง NIA กับ HUAWEI Thailand ผู้จัดหาโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลก ได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมกันพัฒนาด้าน IoT Cloud และ 5G “โครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที” หรือ “ARI Tech Capability” จึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและกำลังคนให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ตอบโจทย์การพัฒนาในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภายในองค์กร และสร้างขีดความสามารถของวิสาหกิจเริ่มต้นให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ ที่สามารถแข่งขันในตลาด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยมีการคาดการณ์ว่า ARI Tech ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศไทยสามารถนำ ARI Tech มาปรับใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นกัน ทั้งในภาคการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนในหลายมิติ”
การอบรม ARI TECH CAPABILITY 2023 โดย HUAWEI Academy เป็นการเปิดการเรียนรู้ด้าน ICT Cybersecurity, Cloud และ Artificial Intelligence (AI) ตลอดเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566 เป็นการสานต่อโครงการเป็นปีที่ 5 โดยมีสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และบุคลากรด้านดิจิทัลที่สนใจเข้าร่วมการอบรมรวม 35 คน กับ 4 หัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) Digital Transformation Trends and Business Innovation, 2) Cloud and Network Synergy, Enable Industry Digital Transformation, 3) Artificial Intelligence Industry Practice Discussion and Sharing และ 4) Hand on Lab Workshop & CSICนายปริวรรต กล่าวต่อว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา NIA เห็นความสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพกลุ่ม ARI Tech อย่างต่อเนื่อง ประจวบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุคหลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ทำให้เกิดการสร้างงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลจึงมีความสำคัญมากในการรับมือกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ
อีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทยคือการขาดแคลนบุคลากรทางด้านดิจิทัล การเรียนในมหาวิทยาลัยอาจไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก การอบรมในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ธุรกิจหรือสินค้าต่อไปได้ นอกจากนี้ ทุกคนที่เข้าร่วมจะสามารถต่อยอดกับโครงการต่างๆ ของ NIA อาทิ การขอทุนในโครงการต่างๆ หรือโครงการบ่มเพาะสำหรับสตาร์ทอัพเช่นกัน”
นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า พันธกิจของ HUAWEI Thailand คือ มุ่งสนับสนุนธุรกิจในประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยส่งเสริมอีโคซิสเต็มในประเทศผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ซึ่ง NIA ก็เป็นส่วนหนึ่งของพาร์ทเนอร์คนสำคัญที่ได้มีส่วนในการร่วมกันพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ร่วมกันได้พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นด้าน Deep Tech ไปแล้ว 150 ราย
“การพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลถือว่าเป็นการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศให้แข็งแกร่งอย่างแท้จริง การสร้างอีโคซิสเต็มในด้านบุคลากรดิจิทัล จำเป็นต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือจากหลากหลายฝ่าย เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันระหว่าง HUAWEI Thailand และ NIA ในการอบรมทักษะด้านดิจิทัลนั้นจะเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของแรงงานด้านดิจิทัลในประเทศ และยกระดับให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลของอาเซียนในอนาคต”
29 ธ.ค. 2567